วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผักกาด

ประวัติ ความเป็นมาของผักกาด
ผักในตระกูลผักกาด มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซียแทบทั้งสิ้น อาทิ ผักกาดเขียวและผักกาดขาว ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แต่กะหล่ำปลีมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย เช่นกันนั้น กลับเป็นที่นิยมในยุโรป เพราะชาวกรีกและโรมมัน ที่อาศัยอยู่ในแทบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นผู้นำเข้าไปเผยแพร่ อีกทั้งเป็นผักที่ ทนสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ชาวยุโรป จะรู้จักกำหล่ำปลี มากกว่าผัก ในตระกูลผักกาดอื่นๆ
สำหรับประเทศไทย เองนั้น จากหลักฐานเกี่ยวกับ การปลูกพืชผักที่มีอยู่ ทำให้ทราบว่า เรามีผักกาด หลากหลายชนิด ไว้รับประทานกัน ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ. 2435 ซึ่งเริ่มมีการตั้ง กระทรวงเกษตราธิการขึ้น และยังมีการนำพันธุ์พืช จากต่างแดนเข้ามาปลูกมากมาย ผักในตระกูลผักกาด จึงน่าจะเข้ามาในช่วงนี้เช่นกัน
หลาก หลายในตระกูลผักกาด
หากจะจัดรวมผัก ที่น่าจะอยู่ในวงศาคณาญาติเดียวกัน กับผักกาด นับว่ามีมากพอดูเชียวละ เริ่มกันตั้งแต่ผักกาดขาว หรือผักกาดขาวปลี ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ อย่างพันธุ์ที่เข้าปลียาว เรียกว่า ผักกาดหางหงส์ ซึ่งจะมีลำต้นยาวกว่าผักกาดขาวมาก
ส่วนผักกาดเขียว ซึ่งเรียกตามสีสันของใบ ที่เขียวสด ดูน่ารับประทานนั้น มีขนาดลำต้นใกล้เคียง กับผักกาดขาวมาก นอกจากนี้ยังมี ผักกาดเขียวปลี หรือผักโสภณ ซึ่งป็นผักกาดชนิด ที่นิยมนำมาดอง แล้วบรรจุกระป๋อง นอกจากนี้ แม้แต่ผักกาด หรือที่เรารู้จักในชื่อ หัวไชเท้า ที่นิยมนำมาดองเค็ม และหลาน เรียกว่า \'หัวไชโป๊ว และหัวไชโป๊วหวาน\' นี้ ก็ยังเป็นหนึ่งใน บรรดาผักในตระกูลผักกาด นี้อีกด้วย
สำหรับผักกาดแก้ว และผักกาดหอม ที่เป็นผักสำคัญในเมนูสลัดนั้น เป็นผักที่มีถิ่นกำเนิด จากต่างแดนแน่นอน ซึ่งเดิมเราต้องนำเข้า ผักกาดสองชนิด เพราะเป็นผักที่ปลูกได้ดี ในอากาศหนาวเย็น แต่ปัจจุบันเราสามารถปลูกได้เอง แล้วทำให้ราคาถูกลงมาก คนไทยจึงมี อีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการรับประทานผัก ในตระกูลผักกาด
ขนม ก็มีชื่อ \'ผักกาด\' เคงสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมเราจึงเรียก แป้งสี่เหลี่ยมชิ้นขาวๆ ที่นำมาผัดรวมกับไข่ ถั่วงอก และใบกุยช่าย ว่า \'ขนมหัวผักกาด หรือขนมผักกาด\' เพราะหากลองดูหน้าตากันดีๆ แล้ว ยังไงก็เป็น อาหารคาว ไม่เหมือนขนมสักนิดเดียว
แท้จริงแล้ว แป้งสีขาวที่เราเห็นนั้น นอกจากจะมีส่วนผสมของแป้งแล้ว ยังมีส่วนผสมสำคัญ อย่างหัวไชเท้า ขูดฝอยรวมอยู่ด้วย
วิธีการก็ไม่ยุ่ง ยากอะไร เพราะส่วนผสมก็มีแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งมัน น้ำ เกลือป่น และหัวผักกาดขูดฝอย เริ่มจากการละลายแป้งทั้งสามชนิด กับเกลือและน้ำ ใช้ไฟต่ำ คนจน ส่วนผสมเริ่มข้น จึงเติมหัวผักกาดที่ขูดฝอยไว้ แล้วกวนต่อจน ส่วนผสมเข้ากันดี จึงเทใส่ ถาดสี่เหลี่ยมที่ทำน้ำมันพืชไว้ แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด จนแป้งสุก (ประมาณ 20-25 นาที) พักไว้จนเย็น ค่อยหั่นเป็นชิ้น ซึ่งคุณสามารถเก็บในตู้เย็น หากจะนำมาประกอบอาหาร ก็เพียงแค่ นำมาผัดรวมกับเครื่องผัดไทย แล้วปรุงรสให้อร่อย เป็นอันได้อาหารจานด่วน ไว้รับประทานแล้ว
การทำขนมหัวผักกาด มีหลายสูตร เช่น ขนมหัวผักกาดทรงเครื่อง ซึ่งมีวิธีการทำเหมือน ขนมหัวผักกาดแบบทั่วๆไป แต่จะปรุงรสให้กลมกล่อมเพิ่มขึ้น ด้วยเกลือป่น พริกไทยป่น น้ำมันงา ซอสหอยนางรม และซีอิ๊วขาว และก่อนจะเทส่วนผสม ลงในพิมพ์ จะโรยหน้าด้วยเครื่องประกอบ อาทิ ถั่วลิสง กุ้งแห้ง และเห็ดหอม





 โรคเน่าอาการ
ขอบใบแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ เนื้อเยื่อที่แห้ง มีเส้นใบสี
ดำ เห็นชัดเจน ทำ ให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามลงไปถึงเส้นกลางใบ และลุกลามลงไปถึง
ก้านใบและใบอื่นๆ ทั่วกันด้วย เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งตายไป ผักจะชะงักการเจริญเติบโตต้นอาจถึง
แกความตายด้วย
สาเหตุเกิดจาเชื้อบัคเตรี Xanthomonas campestris
การป้องกันกำ จัด
โรคนี้เข้าใจว่าติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ซึ่งบางครั้งก็มีโรคเกิดมากกว่าปกติ การป้องกันมีอยู่วิธี
เดียวคือ ปลูกพืชหมุนเวียนสลับ เช่น ปลูกข้าวโพด พริก ฯลฯ โดยไม่ปลูกพืชพวกนี้อย่างน้อย 3 ปี เมื่อมี
โรคระบาด
โรคโคนเน่าคอดินของคะน้า (Damping off of chinese kale)
อาการ
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านกล้าที่แน่นทึบ อับลมและต้นเบียดกัน
มากจะเป็นโรค ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคอยู่แล้ว ต้นกล้าผักจะเกิดอาการเป็นแผลชํ้าที่โคนต้นระดับดิน
เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำ ให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายใน
เวลารวดเร็ว บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นวงกลม ภายในวงกลมที่ขยายออกไปไม่
มีต้นกล้าเหลืออยู่ในเนื้อที่ดังกล่าว กล้าที่โตแล้วจะค่อยๆ เหี่ยวตาย
สาเหตุเกิดจาก
ในแปลงกล้าผักควรจะปฏิบัติ ดังนี้
1. หว่านเมล็ดผักอย่าให้แน่นทึบเกินไป
2. ใช้ยาป้องกันกำ จัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ รดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก
1-2 ครั้ง ถ้าได้ยาเทอราคลอซึ่งเป็นยาป้องกันกำ จัดเชื้อราในดินโดยตรงจะได้ผลดียิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปใช้
ไซเนบ มาเนบ ละลายนํ้ารดก็ได้ผลบ้าง
3. ทำ ทางระบายนํ้าให้ดี อย่าให้มีนํ้าขังแฉะในแปลงกล้า หรือยกร่องนูนสูงเพื่อให้นํ้าระบายได้
เร็วด้วย
หมายเหตุ
ผักดำ ของกะหลํ่าปลี (Black rot of cabbage)เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้
โรครานํ้าค้างของคะน้า (Downy mildew of chinese kale)
อาการ
ใบเป็นจุดละเอียดสีดำ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จุดละเอียดเหล่านี้มีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผง
แป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลามระบาดขึ้นไปยังใบ
ที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและร่วง หรือใบแห้ง ในเวลาที่
อากาศไม่ชื้น จะไม่พบผงแป้ง และแผลแห้งเป็นสีเทาดำ โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้า ซึ่งจะ
ทำ ความเสียหายมากเพราะมีใบเสียมาก ต้นเติบโตช้า ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝัก ฝักอ่อนก็มีแผลแบบ
เดียวกับแผลบนใบ ผักไม่สมบูรณ์
สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Peronospora parasitica
การ ป้องกันกำ จัด
ให้ฉีดพ่นยาป้องกันกำ จัด เช่น ยาไซเนบ มาเนบ ไดโฟลาแทน เบนเลท หรือ เบนโมบิล ดาโน
บิล แคปเทน หรือ ยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบสารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะ
ที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะเปน็ พษิ ตอ่ตน้ กลา้
หมายเหตุ
โรคนี้ไม่ทำ ให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ นํ้าหนักลดเพราะต้องตัดใบ
เป็นโรคออกเสีย ทำ ให้ผลผลิตตกตํ่า กะหลํ่าปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็น
โรคไม่ควรเก็บไว้ทำ พันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน
โรคแผลวงกลมสีนํ้าตาลไหม้ของคะน้า (Leaf spot of chinese kale)
อาการ
ใบมีแผลวงกลมสีนํ้าตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดของ
แผลมีทั้งใหญ่และเล็กบนแผลมักจะมีเชื้อราขึ้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดำ ผักบางชนิดและบางพันธุ์มี
แผลที่ก้านใบเป็นจุด หรือแผลรูปวงกลมรีสีนํ้าตาลดำ เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย ในที่บางแห่งพบแผลวง
กลมบนฝักอ่อนด้วย ทำ ให้ฝักอ่อนแห้งเป็นสีนํ้าตาล ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมักจะเป็นโรคมากกว่า
สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Alternaria sp.
การป้องกันกำ จัด
การฉีดพ่นยาป้องกันกำ จัดเชื้อราอยู่เสมอๆ จะช่วยป้องกันกำ จัดเชื้อรานี้ และเชื้อราโรคอื่นๆ
ด้วย ยาเกือบทุกชนิดให้ผลดี ยกเว้น ยาเบนโนมิล หรือ เบนเลท และ กำ มะถันที่ไม่ให้ผลแต่อย่างใด
หมายเหตุ
โรคนี้ไม่ทำ ให้ต้นตาย แต่ทำ ให้ผลิตผลตกตํ่า เพราะมีใบเหลืองเน่ามาก และเกิดกับผักทุกชนิด
ในตระกูลนี้ โรคแอนแทรกโนสของผักกวางตุ้ง (Anthracnose of chinese cabbage)
อาการ
ใบเป็นจุดฉํ่านํ้าสีเขียว ขอบสีนํ้าตาลอ่อน และมีเนื้อเยื่อรอบแผลสีเหลือง ขนาดแผลเท่าหัวเข็ม
หมุด หรือใหญ่กว่าเล็กน้อยใบที่มีหลายแผลจะเหลืองและเน่าอย่างรวดเร็ว
สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Gloeosporium sp.
การป้องกันกำ จัด
ฉีดพ่นใบด้วยยาป้องกันกำ จัดเชื้อรา เช่น ไซแนบ มาเนบ ฯลฯ สัก 1-2 ครั้ง
หมายเหตุ
ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาด เป็นโรคนี้มากกว่าผักอื่น
โรคโคนก้านใบ และต้นเน่าของผักกาดเขียวปลี
(Stem canker of Rhizoctonia rot of chinese mustard)
อาการ
ลำ ต้นระดับดินและโคนก้านใบมีเชื้อราสีขาวนวลขึ้นเป็นแผลวงกลมหรือรูปไข่ ซึ่งขยายกว้างออก
ไป และเนื้อเยื่อตรงกลางแผลเน่าบุ๋มลึกลงไปคล้ายขนมครก และมีสีนํ้าตาลอ่อน หรือสีนํ้าตาลแก่ เชื้อรา
จะค่อยๆ ลามเข้าไปภายใน ทำ ให้กาบใบที่อยู่ข้างในมีแผลเน่าด้วย ใบที่มีแผลใหญ่ที่โคนจะเหี่ยว และหัก
หลุดไปตรงแผล ต้นอาจตายได้ถ้าเชื้อราทำ ลายโคนใบและลำ ต้นหมด มักจะเกิดในแปลงที่มีการระบาย
นํ้าไม่ดี ในแปลกล้าผักจะมีโรคนี้ระบาดด้วย ผักจะเน่าเร็วขึ้นเมื่อมีเชื้อบัคเตรีที่ทำ ให้เกิดอากาารเน่าเละ
เข้ามาภายหลัง
สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Rhizoctonia solani
การป้องกันกำ จัด
1. ทำ ทางระบายนํ้าให้ดีอย่าให้มีนํ้าขังแฉะ
2. ควรใช้ยาป้องกันกำ จัดเชื้อราละลายนํ้ารดที่ผิวดิน และฉีดพ่นยาที่โคนใบ
3. ให้ถอนต้นที่มีแผลออกไปทำ ลายเสีย
หมายเหตุ
ผัหลายชนิดเป็นโรคนี้ด้วย ไดแก่พวก มักฝรั่ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พริก ฯลฯ โดยมีแผลที่โคน
ต้น ผักกาดเขียวปลีและผักกาดขาวพบเป็นโรคนี้มากที่สุด
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น